การสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย​และนิวซีแลนด์

การสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย​และนิวซีแลนด์

โดย ศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย​และนิวซีแลนด์

Academic​ Collaboration​ with Australian and New Zealand Universities

            การศึกษานานาชาติเป็น​ sector การส่งออกการบริการที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจออสเตรเลียเป็นอย่างมาก​ มหาวิทยาลัยมี​ 43 แห่ง​ การศึกษานานาชาติทำรายได้สูงมากเป็น​ top 5 ในออสเตรเลีย​ รองจากแร่เหล็ก​ ถ่านหิน​ ก๊าซธรรมชาติ​และทองคำ (1) ในปี​ 2022 ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่างชาติมีถึง​ AUS$ 29,000 ล้าน​ (2) ในขณะที่ตลาดด้านการศึกษาและการอบรมรวมมูลค่า AUS$144,000 ล้าน​ (2022) ( AUS$1 = 22.69 บาท)​ และมีอัตราการเติบโตมากกว่าเศรษฐกิจในภาพรวม​ (3) ​ นศ​ ต่างชาติที่มาเรียนมากที่สุดในออสเตรเลีย​ ได้แก่​ จีน​ (30%) อินเดีย​ (17%) เนปาล​ (8%) เวียตนาม​ (4%) และมาเลเซีย (3%) (4)

            ส่วนการศึกษานานาชาติในนิวซีแลนด์เป็น​ sector ส่งออกอันดับ​ 4 ของประเทศ​ มีมูลค่า NZ$5,000 ล้าน​ (5) (NZ$1 = 21.24 บาท)​รัฐบาลพยายามจะทำให้การศึกษานานาชาติสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจ​ โดยเปลี่ยนจาก​ “volume to value” เป็นการเพิ่มมูลค่าจาก​จำนวน​ นศ​ ต่างชาติที่ยังมีน้อยให้เป็นมูลค่าที่เพื่มขึ้นในทุกภูมิภาค​ พยายามให้ประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมกับ​ นศ​ เน้นความสำคัญเรื่อง​การเติบโตอย่างยั่งยืน​และการพัฒนาไปสู่การเป็นพลเมืองโลก​ (global​ citizen)

            การเดินทางไปเจรจาความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้​ได้รับคำแนะนำจากท่าน​ ศ.ดร.เมธี​ ครองแก้ว​ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ฝ่ายกิจการนานาชาติ​ของอธิการ โดยท่านขอไม่รับเงินเดือน​และเบี้ยเลี้ยงใดๆ​ ท่านอาจารย์เมธีจบการศึกษาที่เวลลิงตันและเคยทำงานที่​ ANU ท่านจึงมีเครือข่ายอาจารย์ที่กว้างขวาง ปัจจุบันท่านอาศัยอยู่ที่ออสเตรเลีย ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เมธีที่สละเวลาช่วยทำให้นิด้า​ มหาวิทยาลัยที่ออสเตรเลีย​และนิวซีแลนด์​ได้มีโอกาสรู้จักกันมากขึ้น​ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต

            ทริปนี้ใช้เวลาประมาณหนึ่งอาทิตย์​ เดินทางจากซิดนีย์​ ไปแคนเบอรร่า​ และต่อไปที่เมลเบิร์น​ เพื่อเจรจากับ​ 3 มหาวิทยาลัย​ที่ออสเตรเลีย คือ​ ANU, Monash U.​ และ​ Melbourne จากนั้นไปต่อที่เวลลิงตัน​ เมืองหลวงนิวซีแลนด์​ เพื่อเจรจากับ​ Victoria​ U.​ of Wellington ต้องขอบคุณทีมผู้บริหารที่ไปด้วยกัน​ด้วย คือ​ รศ.ดร.สมบัติ​ กุสุมาวลี​ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนานาชาติ​และ​ ผศ.ดร.อารี​ มโนสุทธิกิจ​ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนานาชาติ​ ที่ช่วยทำให้ภารกิจบรรลุผล รวมทั้ง​ จนท​ ที่​ส่วนวิเทศสัมพันธ์​ (OIA)​ นิด้าที่ช่วยประสานในรายละเอียดให้เป็นอย่างดี

            ที่ออสเตรเลียมีโอกาสได้พบกับ​ Guru อย่าง Prof​ Peter​ Warr นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียง​ เคยสอนที่ Monash และเคยเป็น​ Chair​ ที่​ Crawford ศึกษาเรื่องนโยบายเศรษฐกิจและความยากจน​ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจมหภาคของไทย​และอินโดนีเซียเป็นอย่างดี​ ท่านช่วยประสานกับ​ ANU ท่านพูดและอ่านภาษาไทยได้ดีมาก​ ที่สำคัญท่านเป็นคนน่ารักและยังแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ​ ​ Guru อีกท่านที่ได้รู้จักจากการแนะนำของท่าน อ​ เมธี​ คือ​ Prof​ Peter​ Lloyd​ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน​ อ​ เมธี​ เคยสอนที่​ Victoria U​ of Wellington, ANU, และ​ Melbourne ท่านเชี่ยวชาญด้าน​ International Economics​ พวกเราได้ร่วมรับประทานอาหารเย็นกับท่านและภรรยา​ แม้จะอายุมาก​แต่ท่านยังความจำดี​ มีอารมณ์ขัน​ และท่านยังเขียนบทความลงตีพิมพ์ในวารสารอยู่เลย ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่เอ่ยชื่อ รวมทั้งทางมหาวิทยาลัยที่พวกเราเยี่ยมเยียนที่ให้การต้อนรับอย่างดียิ่ง​ และหวังที่จะเห็นขอบฟ้าทางวิชาการของมหาวิทยาลัยทางโอเชียเนีย​ (Oceania)​ และนิด้า​เชื่อมประสานกันมากขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา​และวิจัยต่อไป

อ้างอิง
(1*) spre.com.au (2021)
(2*) Universities Australia (universities australia.edu.au)
(3*) Industry Statistics – Australia
(4*) International Trade Administration, New Zealand
(5*) enz.gov.nz