- Details
-
Category: Photos-News-2565
-
Hits: 531
จากจุดเล็กๆ ของการบริการวิชาการภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ยกกำลัง 2 ปี 2565 ณ Sumalee Holistic Care เขตหนองจอก กรุงเทพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรษิดา บุญญาณเมธาพร รองคณบดีฝ่ายวางแผน ภาคีสัมพันธ์ และสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร คณะการจัดการการท่องเที่ยว และ นักศึกษาของนิด้าที่บูรณาการร่วมกันระหว่าง นางสาวตรีชฎา เลาแก้วหนู นางสาววิลาสิณี พุทธาวงษ์ นางสาวเตชิตา ลาพินีกร นางสาววีณากร ภัทรวงศา จากคณะการจัดการการท่องเที่ยวและ นางสาวภัทรธิดา สามัคคี และนางสาวภัทธีมา แม่นสอน จากคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เข้าไปในพื้นที่ด้วยเป้าหมายเพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในยุคปัจจุบันเป็นระยะกว่า 1 ปี และได้หยิบยกเอานวัตกรรมอุปกรณ์เพื่อสุขภาพมาเป็นจุดขายหลักของ Sumalee Holistic Care
ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองบ้านสุมาลีได้ถูกเจียระไนก่อเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ เพชรเม็ดงามใกล้กรุง จากกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดการพัฒนา เกิดผลงานเชิงประจักษ์จนได้รับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจทั้ง 3 รางวัล คือ
1. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภายใต้ชื่อทีม Lady Pink สวยหวานแต่แข็งแกร่ง ในกิจกรรมการประกวด Smart Start Idea by GSB Startup ธนาคารออมสิน
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภายใต้ชื่อทีม Lady Pink สวยหวานแต่แข็งแกร่ง ในกิจกรรมการประกวดรอบ Best of Best ธนาคารออมสิน จากทีม The Best ของทั้ง 65 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ และรางวัลล่าสุด
3. รางวัลชนะเลิศสุดยอดเส้นทางท่องเที่ยวสุขภาพสร้างสรรค์ 2023 “DOT Connect to Healthy Route 2023” ภายใต้ชื่อเส้นทางท่องเที่ยวสุขภาพแฮปปี้ กับพี่ๆวัยเก๋า จากกรมการท่องเที่ยว ซึ่งทีมนิด้าต้องฝ่านฟันกับทีมสร้างสรรค์เส้นทางท่องเที่ยวกว่า 74 ทีม จนได้เข้ารอบ 24 ทีม และ 10 ทีมสุดท้าย เพื่อ Pitching เพื่อเฟ้นหา 5 สุดยอดเส้นทางท่องเที่ยวสุขภาพสร้างสรรค์
ซึ่งนิด้าเรามีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวให้เกิดในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดรายได้ให้กับชุมชน และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป




- Details
-
Category: Photos-News-2565
-
Hits: 356
กลุ่ม LUCAS 8 และผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตร วบส. รุ่นที่ 8 ผู้ประดิษฐ์รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน มอบตู้ตรวจโรคโควิดระบบชีวนิรภัยแก่ “นิด้า” เพื่อใช้ในกิจการของสถาบัน
วันนี้ (30 พฤศจิกายน 2565) นายนัทธี อินต๊ะเสน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จํากัด ในฐานะผู้ประดิษฐ์รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน และได้สำเร็จการอบรมหลักสูตร วิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง (วบส.) รุ่นที่ 8 โดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และกลุ่ม LUCAS 8 เดินทางเข้ามอบตู้ตรวจโรคโควิดระบบชีวนิรภัยให้กับทางสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เพื่อใช้ในกิจการของทางสถาบัน เช่น การรับพระราชทานปริญญา และการอบรมหลักสูตรที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายและไม่มีค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง และไม่มีผลประโยชน์อื่นต่างตอบแทน โดยในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ ทองงาม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและเทคโนโลยีดิจิทัล รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กุสุมาวลี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนานาชาติ และรองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง (วบส.) พร้อมด้วยตัวแทนบุคลากรของสถาบัน ในการรับมอบตู้ตรวจโควิดระบบชีวนิรภัยดังกล่าว ณ ห้องพยาบาล อาคารชุบ กาญจนประกร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สำหรับตู้เก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ประกอบไปด้วยตู้สำหรับใช้เก็บตัวอย่างที่สามารถเคลื่อนที่ได้ สร้างขึ้นตามมาตรฐานของ Center of Disease Control (CDC) เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน มีขนาดตู้ภายนอกที่ กว้าง 1.20 x ยาว 1.20 x สูง 2.46 เมตร โดยใช้ระบบไฟฟ้าสำหรับระบบชีวนิรภัย สามารถใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ (ต่อจากไฟบ้านได้โดยตรง) พร้อมด้วยระบบกรองอากาศจากภายนอก ระบบฆ่าเชื้อภายในตัวรถหลังปฏิบัติงานรายวันด้วยระบบ UV ระบบและอุปกรณ์ควบคุมความดันภายในห้องเป็นบวกตลอดเวลา







