ติดตาม :        เลือกภาษา THEN 



ปรัชญาใหม่ของนิด้า: ปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(WISDOM for Sustainable Development)

 

          สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ปรับเปลี่ยนปรัชญาใหม่เป็น “ปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Wisdom for Sustainable Development)” เป็นการปรับเปลี่ยนปรัชญาในรอบ 15 ปี เพื่อรองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

          ศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า นิด้าได้มีการปรับเปลี่ยนปรัชญาใหม่จาก “ปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลง (WISDOM for Change)” เป็น “ปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน WISDOM for Sustainable Development” โดยในช่วงเริ่มก่อตั้งนิด้าซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐในปี พ.ศ. 2509 นิด้ามีปรัชญาที่อิงกับพุทธสุภาษิต คือ “นตถิ ปัญญา สมา อาภา” (ไม่มีแสงสว่างใดเสมอเท่าปัญญา) แสงสว่างที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ทำให้ดวงตาเห็นหนทางและเห็นสรรพสิ่งรอบตัวได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของธรรมชาติและพฤติกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง (Visual Perception) หากแต่แสงสว่างจากปัญญาต่างจากแหล่งอื่น เพราะเป็นแสงสว่างที่ส่องไปถึงจิตใจ สามารถนำพาความคิด ชีวิตและองค์การของเราจากความมืดมิดให้ไปสู่ความรุ่งโรจน์ได้ ช่วยทำลายความงมงายไปสู่ความมีเหตุมีผล และสร้างความปลื้มปิติให้กับผู้มีปัญญา

Read more: ปรัชญาใหม่ของนิด้า: ปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(WISDOM for Sustainable Development)

การออมสู่ความยั่งยืน

โดย ผศ.ดร. สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า

ที่มา : https://thaipublica.org/2023/03/nida-sustainable-move25

 

          อาจจะเป็นเรื่องแปลกที่ผู้เขียนเลือกที่จะเขียนเกี่ยวกับการออมในช่วงเวลาที่กระแสโดยส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศให้น้ำหนักกับการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านรูปแบบของมาตรการภาครัฐหลากหลายมาตรการ และสำหรับประเทศไทย ซึ่งกำลังเข้าสู่ช่วงระยะเวลาของการเลือกตั้ง ก็จะเห็นภาพชัดเจนผ่านนโยบายต่างๆ ที่พรรคการเมืองนำเสนอออกมาที่ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดก็จะเป็นไปในแนวทางของการส่งเสริมให้เกิดการใช้จ่าย และหลายนโยบายก็มีลักษณะเป็นนโยบายเงินโอน (Money Transfer) คือ รัฐโอนเงินให้ประชาชนบางกลุ่มให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย หรือรัฐไปช่วยจ่ายบางส่วน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้จ่ายโดยมีเป้าหมายว่ามาตรการที่ดำเนินการไปนั้นจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่าจำนวนงบประมาณที่รัฐใช้จ่ายไป ในทางเศรษฐศาสตร์ก็จะเรียกว่าเกิดผลกระทบทวีคูณ (Multiplier Effects)

 

Read more: การออมสู่ความยั่งยืน

BCG พอเพียง” Series EP:6 เมด อิน สงขลา - A Second Spring for Songkhla

BCG พอเพียง” Series EP:6 เมด อิน สงขลา - A Second Spring for Songkhla

อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง

 

          โครงการต่อยอดของดีในย่านเมืองเก่าสงขลา บนแนวคิดการพัฒนาทุนทรัพยากรเดิมผ่านมุมมองใหม่และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างเข้มแข็งท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

จุดเริ่มต้น

          ตั้งแต่โบราณ สงขลาเป็นเมืองท่าสำคัญของภูมิภาคที่เชื่อมอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา ท่าเรือแห่งนี้ดึงดูดพ่อค้าจากจีนไปทางอินเดียและตะวันออกกลาง กะลาสีเรือและพ่อค้าบางคนได้ลงหลักปักฐานที่นี่ ก่อให้เกิดการหล่อหลอมความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทักษะและภูมิปัญญาหลากวัฒนธรรม มรดกที่ซับซ้อนนี้เห็นได้ชัดในเขตเมืองเก่า ถนนนครนอก ถนนนครในและถนนนางงาม

Read more: BCG พอเพียง” Series EP:6 เมด อิน สงขลา - A Second Spring for Songkhla

ฟุตบอลสมัยใหม่กับความยั่งยืน

 

โดย ผศ.ดร.อัธกฤตย์ เทพมงคล คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์

 

ที่มา : https://thaipublica.org/2023/03/nida-sustainable-move24

 

          นาทีนี้เราคงต้องแสดงความยินดีกับแฟน ๆ หงส์แดงลิเวอร์พูลทุกท่าน ที่สามารถเอาชนะทีมปีศาจแดงแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปได้แบบถล่มทลายถึง 7 ประตูต่อ 0 (ขอแสดงความเสียใจกับเด็กผีทุกท่านด้วยครับ ผู้เขียนเป็นเด็กปืน ไม่ได้เป็นแฟนหงส์แต่อย่างใด) ด้วยเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ ผู้เขียนขอเปลี่ยนฟีลโดยเลือกหยิบประเด็นความยั่งยืนในวงการฟุตบอลอังกฤษมาพูดคุยกันแบบเบา ๆ ถือเป็นการพักจากหัวข้อหนัก ๆ อย่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสักตอนละกัน

 

          ผู้เขียนเริ่มดูฟุตบอลมาพร้อมกับ อาร์แซน เวนเกอร์ ขึ้นมาคุมทีมอาร์เซนอลในปี 1996 เลย ก็ประมาณช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งนั่นแหละ แน่นอนตัวเองไม่ใช่เซียนฟุตบอลแต่อย่างใด ไม่ได้เป็นนักฟุตบอลอาชีพหรือทำอาชีพโค้ช เป็นเพียงนักเศรษฐศาสตร์คนนึงที่ติดตามฟุตบอลต่างประเทศและเห็นวิวัฒนาการของวงการนี้มาจนถึงปัจจุบัน และเล็งเห็นว่าวงการฟุตบอลมีปัญหาเรื่องความยั่งยืนในหลายมิติดังต่อไปนี้

 

Read more: ฟุตบอลสมัยใหม่กับความยั่งยืน

“BCG พอเพียง” Series EP:5 ทะเลจร - Sea Trash to Treasure อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง

 

          ธุรกิจอัพไซเคิลขยะทะเล ที่ใช้งานวิจัยเป็นกลไกพัฒนาสินค้าสู่เชิงพาณิชย์ - ทะเลจร แบรนด์รองเท้าจากขยะ - ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยสร้างรายได้เสริมให้ชุมชน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และความภาคภูมิใจในกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตในสามจังหวัดชายแดนใต้ 

 

จุดเริ่มต้น 

     ท่ามกลางภูมิทัศน์อันงดงามทางธรรมชาติ จังหวัดปัตตานีเผชิญกับปัญหาขยะทะเลบนชายหาดที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในปี 2559 ที่ ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ร่วมกับอาสาสมัครรุ่นใหม่ที่ห่วงใยปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ก่อตั้ง Trash Hero ปัตตานี กลุ่มจิตอาสาเก็บขยะจากชายหาดนี้ได้ขยายสู่ธุรกิจเพื่อสังคมชื่อ ทะเลจร (Tlejourn) ที่มุ่งช่วยให้คนในท้องถิ่นนำขยะรองเท้าในทะเลมาชุบชีวิตให้เป็นรองเท้าแตะรีไซเคิล สอดคล้องกับหนึ่งในกลยุทธ์ BCG – Circular economy เศรษฐกิจหมุนเวียน – ที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มในบริบทของแต่ละท้องถิ่น แปลงขยะเป็นแหล่งรายได้ พร้อม ๆ กับเพิ่มคุณค่าในภาคการท่องเที่ยว และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในพื้นที่ 

Read more: “BCG พอเพียง” Series EP:5 ทะเลจร - Sea Trash to Treasure อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

หนี้ครัวเรือน : ความเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคมสู่ความไม่ยั่งยืน

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ณดา จันทร์สม คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ที่มา : https://thaipublica.org/2023/03/nida-sustainable-move23/

 

          สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นจุดเปราะบางสำคัญของระบบเศรษฐกิจการเงินและสังคมไทย และยังคงเป็นประเด็นที่ต้องกล่าวย้ำกัน โดยเฉพาะในช่วงบรรยากาศการเลือกตั้ง ที่จะมีการนำเสนอนโยบายเศรษฐกิจจากพรรคการเมืองต่าง ๆ การกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยจึงเป็นเรื่องจำเป็นและคาดหวังนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หนี้ครัวเรือนของไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เปรียบเทียบข้อมูลในปี พ.ศ. 2553 หนี้สินครัวเรือนจากระดับ 60% ต่อ GDP มาอยู่ที่ประมาณ 90% ต่อ GDP ในปี พ.ศ. 2563 และรักษาระดับสูงไว้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 3/2565 หนี้สินครัวเรือนไทยมีจำนวน 14.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 86.8% ต่อ GDP

Read more: หนี้ครัวเรือน : ความเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคมสู่ความไม่ยั่งยืน

นโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการท่องเที่ยวหลังยุคโควิด-19

โดย ศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า

ที่มา : https://thaipublica.org/2023/02/nida-sustainable-move22

 

 

          จากที่ได้นำเสนอไปในบทความที่แล้วในเรื่องของ “แนวโน้มตลาดแรงงานภาคการท่องเที่ยวหลังยุคโควิด-19” ที่ได้ระบุถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในภาคตลาดแรงงานในภาคการท่องเที่ยวหลังยุคโควิด-19 ซึ่งปัญหาหลัก ๆ ที่ต้องรีบแก้ไขในขณะนี้จะเป็นเรื่องของ “ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพ (ทักษะ)” โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างเต็มที่ แต่ถ้าคนทำงานมีไม่พอ หรือทักษะยังไม่ได้ ก็คงจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะทำให้เกิดการให้บริการที่มีคุณภาพและสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวได้

Read more: นโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการท่องเที่ยวหลังยุคโควิด-19

“BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security

“BCG พอเพียง” Series EP:4

ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security 

จังหวัดยโสธร บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ สกลนคร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม

           

โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา 

ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง

           

          กลุ่มชาวนารุ่นใหม่ที่รวมตัวกันทำนาแบบดั้งเดิม เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน ขยายแนวคิดการทำเกษตรอินทรีย์อย่างประณีต มุ่งสร้างความตระหนักเรื่องความมั่นคงทางอาหาร และการพึ่งพาตนเอง

           

จุดเริ่มต้น

               ในขณะที่การทำเกษตรกรรมในภาคอีสานของไทยมีภาพลักษณ์ของการต้องดิ้นรน ภัยแล้งและน้ำท่วม ผืนดินแห้งแล้ง ขาดแคลนแรงงาน ราคาผันผวนและต้นทุนการผลิตสูง กลุ่มชาวนาไทอีสาน โดยเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดเดียวกัน 15 คน ได้เปิดตัวรูปแบบการทำการเกษตรแบบยั่งยืนและพึ่งตนเอง ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพบนพื้นฐานวัฒนธรรม ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์เทคนิคการทำนาแบบดั้งเดิมและธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชน เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ  

Read more: “BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security